มูลนิธิครูดีของแผ่นดิน

"ค้นหาปัญหาของตนเองให้พบ แล้วร่วมกลุ่มกันระดมความคิดแก้ปัญหา เพื่อสร้างพลังที่จะนำพาซึ่งการเปลี่ยนแปลง"

a7e910ee

บทความ

เรื่อง Learning Together by PBL

1.”ค้นหาปัญหาของตนเองให้พบ รวมกลุ่มกันแก้ปัญหา นำพาซึ่งการเปลี่ยนแปลง”
ครูใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) ร่วมกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Learning Together) โดยให้นักเรียนค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนเองและต้องการแก้ไขปัญหานั้น จับกลุ่มร่วมกันแก้ไขปัญหาที่มีความคล้ายถึงกัน ใช้กระบวนการกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนและครูติดตามดูแลเอาใจใส่ ให้กำลังใจนักเรียน นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงของนักเรียนในทางที่ดีขึ้น…

2. ✍️ ความคิดในการสร้างเด็กดีของแผ่นดินเกิดจากการที่ครูได้รับรางวัลครูดีของแผ่นดินขั้นพื้นฐานและครูคิดว่าจะต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อให้สมกับคำว่าครูดีของแผ่นดิน และนี่ก็เป็นแรงบันดาลใจในการทำครูดีของแผ่นดิน ในขั้นต่อๆไป เมื่อมีโครงการเด็กดีของแผ่นดิน Z-IDOL เข้ามาครูมีความมุ่งมั่นตั้งใจจะเข้าร่วมโครงการนี้ เพียงหวังว่า ต้องการให้นักเรียนของครูเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและเป็นคนดีโดยครูจะเป็นต้นแบบที่ดี ใช้จิตวิญญาณความเป็นครู ใช้ทักษะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ทันสมัย หาความรู้และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ

✍️✍️ นวัตกรรมและกระบวนการที่ใช้ในการสร้างเด็กดีของแผ่นดิน ครูใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Learning Together) โดยเริ่มต้นจากการ ที่ครูให้นักเรียนค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนเองและต้องการแก้ไขคนละ 1 ปัญหา สามารถสรุปปัญหาของนักเรียนเป็น 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความต้องการพัฒนาความสามารถทางด้านกีฬาและความสามารถพิเศษ 2) ด้านความต้องการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเรียนให้ดีขึ้น 3) ด้านความต้องการให้โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น โดยครูได้แบ่งกลุ่มนักเรียนที่มีความต้องการในการแก้ปัญหาที่คล้ายๆกันให้อยู่กลุ่มเดียวกัน หลังจากนั้นครูก็ติดตามดูแลนักเรียนพบปะพูดคุยให้คำปรึกษานักเรียนในทุกเช้าและเย็นโดยเราจะร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นก่อนกลับบ้าน ครูใช้ความรัก ความเข้าใจ เอาใจใส่ติดตามและให้กำลังใจนักเรียนในทุกๆวัน

✍️✍️✍️ ผลจากการทำโครงการเด็กดีของแผ่นดิน เด็กดีของครูที่มีปัญหาทั้ง 3 ด้าน มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น คือ นักเรียนมีความอดทนในการออกกำลังกายทุกวัน นักเรียนอ่านหนังสือและทำการบ้านทุกวัน นักเรียนช่วยกันเก็บขยะ รดน้ำต้นไม้ ดูแลความสะอาดของโรงเรียน ส่งผลให้นักเรียนทั้ง 19 คน มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ความสำเร็จที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ เกิดจากการติดตาม ดูแล เอาใจใส่ และที่สำคัญนักเรียนเข้าใจความเป็นตัวตนของนักเรียน ต้องการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงแก้ไขปัญหาของตนเอง จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและได้รับความร่วมมือจากเพื่อนๆในกลุ่มเดียวกัน ในการให้คำปรึกษาเบื้องต้นการถ่ายภาพและการถ่ายคลิปต่างๆ ซึ่งการรับส่งข้อมูลของนักเรียน ครูได้ใช้แชทกลุ่มจาก Facebook และสร้างเพจเด็กดีของแผ่นดิน by Kru wan เพื่อติดตามพัฒนาการของเด็กๆโดยครูให้ กำลังใจ แนะนำ พูดคุยให้เด็กมีกำลังใจในการทำความดีต่อไปในทุกวันอย่างต่อเนื่อง โดยมีครูเป็นแบบอย่างของการทำความดี

✍️✍️✍️✍️ สรุปผลจากการทำโครงการโครงการเด็กดีของแผ่นดิน ทำให้ครูมีความรักความห่วงใยลูกศิษย์มากขึ้น มีความภาคภูมิใจที่ได้เห็นลูกศิษย์ตั้งใจทำความดีต่อไปในทุกๆวันนักเรียนมีความรับผิดชอบต่อตนเอง และสังคมเพิ่มมากขึ้น ปฏิบัติตนในสังคมได้อย่างมีความสุข มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถทำงานร่วมกันเป็นทีมได้ อีกทั้งนักเรียนกล้าคิด กล้าทำกล้าแสดงออก ในทางที่ถูกต้องและไม่อายที่จะทำความดีต่อไป

✍️✍️ และท้ายที่สุดนี้ครูขอขอบพระคุณมูลนิธิครูดีของแผ่นดินที่ร่วมกันสร้างครูดีและเด็กดีไปพร้อมกัน ครูหวังว่าเราจะเป็นครูที่ดีและพร้อมที่จะสรรค์สร้างเด็กดีของแผ่นดินเพื่อพัฒนาประเทศชาติของเราต่อไป มาร่วมสร้างเด็กดีไปด้วยกันนะคะ

Scroll to Top