มูลนิธิครูดีของแผ่นดิน

ทิศทางการสร้างคนดีให้แผ่นดิน ประจำปีพุทธศักราช 2563

โดย ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี

ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กราบเรียนพลเอกเอกชัย ศรีวิลาศ ประธานมูลนิธิครูดีของแผ่นดิน ท่านผู้มีเกียรติทุกๆท่านนะครับ ในประเด็นที่อยากจะพูดคุยกับทุกๆท่าน สมาชิกครูดีของแผ่นดิน คือ เรื่องของการใช้อำนาจในโรงเรียน สมัยก่อนเรายังมองไม่เห็นระบบชัดเจน จึงเป็นการจัดการเรียนการสอนทั่วไป แต่เรื่องการใช้อำนาจในโรงเรียน สถานการณ์นี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบันครับ
อะไรบ้างที่บ่งบอกการใช้อำนาจในโรงเรียน ดูตัวอย่างจากนักเรียนได้ครับ เมื่อสักครู่มี VTR ปัญหาเด็กแต่งกายไม่เป็นระเบียบ เด็กถูกรังแก ขาดความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน อะไรต่างๆ เหล่านี้แสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมของเด็กอยากมีความสำคัญ อยากมีบทบาทเป็นที่สนใจ อยากให้ตัวเองเป็นผู้มีอำนาจเหนือคนอื่น อันนี้มาจากตัวเด็กเองนะครับ
แต่ถ้ามองในส่วนของคุณครูเราจะสังเกตเวลาเราเข้าไปทำงาน โรงเรียนที่บ่งบอกการใช้อำนาจ ส่วนใหญ่คุณครูจะต่างคนต่างดูแลห้องเรียนของตัวเอง ขาดความเอาใจใส่ภาพรวม ว่ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นโรงเรียน ถ้าไม่ใช่ห้องเรียนของฉัน ไม่ใช่โครงการของฉัน ฉันไม่เกี่ยวข้อง นอกนั้นเป็นหน้าที่ของผู้อำนวยการโรงเรียน
และอีกตัวอย่างหนึ่งที่มองเห็นได้ชัดเจน คือ โรงเรียนส่งเสริมกิจกรรมการใช้อำนาจในโรงเรียนด้วยหรือเปล่า และหลายครั้งเราก็ไม่รู้ว่ากิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นนั้น ส่งผลต่อการใช้อำนาจในโรงเรียนด้วยหรือไม่ ยกตัวอย่าง เช่น ข่าวล่าสุดว่ามีการจัดงานต้อนรับผู้อำนวยการโรงเรียนคนใหม่ และมีพิธีการให้นักเรียนก้มกราบ เหมือนต้อนรับเจ้าหน้าที่ชั้นสูง อันนี้เป็นพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์เลียนแบบในโรงเรียน
สมัยก่อนที่เราเป็นครู เวลาเราไม่อยู่ห้องเรียนก็จะฝากหัวหน้าห้อง อ้าว เธอดูเพื่อนในชั้นเรียนให้ครูหน่อย เราก็จะเห็นพฤติกรรมของหัวหน้าห้องว่ามีการจดชื่อ ใครเสียงดัง บางทีถือไม้เรียวแทนเราก็มี เป็นต้น อันนี้คือระบบการใช้อำนาจโดยไม่รู้ตัว คือเด็กเกิดพฤติกรรมเลียนแบบการใช้อำนาจของครู ฉะนั้นวิธีการคือทำอย่างไร ให้วัฒนธรรมการใช้อำนาจในโรงเรียนหมดไป ซึ่งสิ่งนี้มีความสำคัญมาก
นโยบายที่ออกมาในรูปแบบกระบวนการหรือวิธีการต่างๆ ในช่วง 2-3 ปี มานี้ ตัวอย่างเช่น ขบวนการ PLC ถึงแม้ว่าจะผูกไว้ในเรื่องของวิทยฐานะต่างๆ บางทีเราก็เห็นคุณครูทำผิดวัตถุประสงค์ เช่น การทำรายงาน ว.21 บอกว่าการจัดชั้นเรียน มีการประชุมจัดชั้นเรียน มีการประชุมไปทัศนศึกษาจัดเป็นกระบวนการ PLC อย่างนี้ไม่ใช่ กระบวนการ PLC ที่แท้จริง คือ การที่ท่านผู้บริหาร คุณครู มาร่วมพูดคุยกันในเรื่องของพฤติกรรมเด็ก ในเรื่องการเรียนการสอน
ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ ตัวผู้อำนวยการและคุณครูต้องมีฐานะเท่าเทียมกัน ไม่เหมือนการประชุมสั่งการทั่วไป ซึ่งกระบวนการแบบนี้ถ้าเกิดขึ้นบ่อยๆ หรือลงลึกไปในระดับของนักเรียนด้วยแล้ว เช่นเมื่อสักครู่น้องนักเรียนของโรงเรียนดอนเมือง อธิบายเรื่องของแอคทีฟ อันนี้คือกระบวนอันหนึ่งที่ทำให้เด็กมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี
ภาพเหล่านี้จะช่วยลดบทบาทการใช้อำนาจในโรงเรียนได้ครับ ผมขอชื่นชมคุณครูทั้งสองท่าน ซึ่งถือว่าเป็นคุณครูตัวแทนรุ่นใหม่ที่ใช้กระบวนการลดอำนาจในส่วนที่เป็นพฤติกรรมส่วนตัวของคนเรา ซึ่งหลายๆ ครั้งอาจจะเกี่ยวพันกับพฤติกรรมของเด็ก ส่งผลกระทบมาถึงตัวเราด้วย ทำให้บางทีคุณครูหมดความอดทนจะแสดงอารมณ์หงุดหงิดออกมา ทำให้เกิดเป็นข่าวอะไรต่างๆ และขอชื่นชมอีกหลายท่านนะครับ อย่างท่านผู้อำนวยการ สพม.21 ท่านสมใจ ท่านทำเป็นระบบเลย เอาเรื่องจิตศึกษาเข้ามาช่วย ซึ่งถ้ามีโอกาสอยากจะเชิญท่านสมใจมานำเสนอให้กับพวกเราได้ทราบนะครับ ขออนุญาตได้นำเรียน เรื่องที่สำคัญเรื่องการใช้อำนาจในโรงเรียนครับ
ชื่นชมทางมูลนิธิ และปีนี้เป็นปีที่ให้ความสำคัญ ทราบว่าจะทำเรื่องการวัดผลและการพัฒนา สอดคล้องกับผู้แทนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อวานมีการประชุมที่ กพฐ. ว่าเรากำลังทำเรื่องหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่ สมรรถนะของตัวคุณครู และเห็นยุทธศาสตร์ที่ลึกซึ้งของมูลนิธิ ที่ผมเองยังต้องถามนอกเวทีว่า ทำอย่างไรทางสมาคมศึกษานิเทศก์ได้ เพราะศึกษานิเทศก์เรามีทุกสังกัด ทุกพื้นที่ และได้ทีมศึกษานิเทศก์มาเป็นผู้ที่สอดส่องดูแล ตรวจสอบดูว่าคนไหนที่ทำงานดี เสียสละ อุทิศตน ซึ่งมีอยู่มากมาย ในหลายรูปแบบที่บ่อยครั้งเราแข่งขันหรือประกวดครูที่มีผลงาน ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการรับสมัครการทำเอกสารอะไรขึ้นมา แต่จะมีคุณครูอีกหลายท่านที่อยู่ในหลายพื้นที่ ที่ไม่อยากจะเปิดเผยตัวเอง
อย่างเช่นที่ผมอยู่ที่ ตาก 2 พื้นที่ชายแดนมีคุณครูที่เค้าอยู่บนดอย เค้าไม่ทำวิทยฐานะ ตั้งแต่ชำนาญการเค้าก็ไม่ทำ ชำนาญการพิเศษเค้าก็ไม่ทำ เค้าก็มีความสุขอยู่ได้ ผมเชื่อว่าศึกษานิเทศก์เข้าไปถึง แต่เราไปทำในนามของวิธีการในเชิงบวก สนับสนุนคนดี อาจจะอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งตอนนี้ในเรื่องของเครือข่าย ยกตัวอย่างเช่น กพฐ. เค้าจะมีชมรมสตรองที่ไปดูแลในพื้นที่ เราทำในเชิงบวก ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องดี แล้วก็ในส่วนของ สพฐ.เองก็ยินดีจะมาสำรวจ โดยเฉพาะสำนักพัฒนานวัตกรรม รับผิดชอบในเรื่องของคุณธรรมทั้งหมด โรงเรียนคุณธรรม โรงเรียนวิถีพุทธ ยินดีที่เป็นส่วนที่เกี่ยวกัน ขอบคุณครับ

Scroll to Top