มูลนิธิครูดีของแผ่นดิน

ทิศทางการสร้างคนดีให้แผ่นดิน ประจำปีพุทธศักราช 2563

โดย ดร.บูรพาทิศ พลอยสุวรรณ์

รองเลขาธิการคุรุสภา

กราบเรียนท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน ตอนที่ผมได้รับมอบหมายจากท่านเลขาธิการคุรุสภา หรือท่าน ดร.วัฒนาพร ท่านรองเลขาธิการสภาการศึกษา ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่เป็นเลขาธิการคุรุสภา ท่านมีภารกิจสำคัญที่บอกให้ผมมา และได้บอกหัวข้อ วันนี้ทางครูดีของแผ่นดิน อยากให้คุยเสวนาเกี่ยวกับทิศทางการสร้างคนดี
เนื่องจากผมในชีวิตนี้เป็นครูเช่นเดียวกัน ได้ยินและเคยคิดเกี่ยวกับเรื่องคนดีมาพอสมควร และคิดว่าไม่แตกต่างจากท่านทั้งหลายในห้องนี้ คือเราต้องการมีคนดีในสังคมไทยและในสังคมโลกมากที่สุด ความเชื่อของผมเองในฐานะที่อยู่ในคุรุสภา ซึ่งเป็นสภาวิชาชีพเป็นองค์กรวิชาชีพครูก็มีความเชื่อจากกฎหมายที่เรียกว่า พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา 2546 จริงๆ มีตั้งแต่ 2488 พูดถึงเรื่องครู คือ มีความเชื่อว่าการที่เราจะได้คนดีให้แก่สังคมนั้น เราต้องมีครูดี ถ้าเราได้ครูดีจะทำให้เกิดคนดี ครูดีสามารถสร้างคนดีได้ แต่คนดีนี้เป็นอย่างไร
ในความคิดเห็นผม คนดีมีได้หลายระดับ ในแต่ละช่วงวัยไม่เหมือนกัน ตั้งแต่วัยเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน วัยผู้ใหญ่ วัยผู้สูงอายุ แต่ละวัยมีธรรมชาติไม่เหมือนกัน แตกต่างกัน เพราะฉะนั้นผมคิดว่าคนดีอาจจะดีได้ตามช่วงวัยของเขา ตามความเหมาะสมของช่วงวัย เพราะฉะนั้น ถ้าเราจะสร้างคนดีก็ต้องให้เหมาะสมกับวัยด้วยเช่นกัน อันนี้คือความเชื่อถัดมาในแง่ของการที่ว่าจะสร้างคนดีอย่างไร ผมยกตัวอย่างเช่น เคสเมื่อเช้าเด็กสองคนนี้ เค้ามีผลงานที่แสดงถึงความดีในวัยของเขา พอเขาโตขึ้นมาอาจจะต้องมีความดีอีกแบบหรือเสริมเพิ่มเติมไปจากนั้น เมื่อเรามองว่าคนดีในแต่ละวัยไม่เหมือนกัน แตกต่างกัน แต่อาจจะมีจุดร่วมกันอยู่
ทีนี้ผมมองว่า ในฐานะที่อยู่ในวงการศึกษา แล้วคนดีที่เราว่านี้ ควรจะเน้นไปที่ตรงไหน ผมก็เลยมองย้อนกลับไปที่ว่า ในรัฐธรรมนูญของประเทศไทยเราถือว่าเป็นกฎหมายทั้งหมด ได้พูดถึงผู้เรียน ผู้เรียนถือเป็นคนคนหนึ่งในสังคมที่เราต้องการให้เป็นคนดี ในรัฐธรรมนูญเขียนไว้ว่า “การศึกษาทั้งปวงต้องมุ่งให้ผู้เรียน เป็นคนดี มีวินัย ภูมิใจในชาติ สามารถเชี่ยวชาญได้ตามความถนัดของตน และมีความรับผิดชอบต่อตนเองต่อสังคม” ผมเลยคิดว่า นี่คือจุดมุ่งหมายของคนดีในส่วนที่เป็นผู้เรียน ในส่วนอื่นที่ไม่ใช่ผู้เรียนอาจจะมีอีกตามที่กำหนดไว้ในส่วนอื่นๆ
ที่นี้เมื่อมาวิเคราะห์ต่อตัวผู้เรียนว่าต้องมีลักษณะแบบนี้แล้ว คนที่จะทำให้ผู้เรียนเป็นแบบนี้คือใคร ก็คือครู เพราะฉะนั้น ครู จึงต้องมีคุณลักษณะแบบนี้ด้วยเช่นกัน การที่ครูจะสามารถสร้างเด็กหรือผู้เรียนให้เป็นแบบไหนครูต้องเป็นแบบนั้นด้วย อันนี้เป็นความเชื่ออย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้น ผมคิดว่า ครู จึงต้องเป็นคนดีด้วย
ที่นี้เมื่อครูเป็นคนดี เรามองครูที่ดีอย่างไร คุรุสภาเองที่เป็นองค์กรวิชาชีพ มองว่าครูที่ดีจะต้องมีสิ่งที่เราเรียกว่าการประพฤติตนหรือการปฏิบัติตน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า จรรยาบรรณของวิชาชีพ มีอยู่ 5 ข้อ 1.จรรณยาบรรณเกี่ยวกับตนเอง ครูต้องมีวินัยต่อตนเอง ต้องมีการประพฤติปฏิบัติต่อตนเอง อันนี้เรียกว่า จรรณยาบรรณต่อตนเอง 2.จรรณยาบรรณต่อผู้เรียน ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ เด็กนักเรียนหรือผู้เรียน 3.จรรณยาบรรณต่อวิชาชีพ ต้องมีความเชื่อมั่นศรัทธาในวิชาชีพ ครูท่านแรกที่ออกมาท่านบอกว่าขับรถกำลังจะกลับบ้านอยากจะลาออก แต่ผมเชื่อว่าสิ่งที่ท่านอยู่จนถึงทุกวันนี้เพราะจิตวิญญาณ จิตใจต้องศรัทธา ต้องเชื่อมั่นในวิชาชีพของความเป็นครู 4.จรรณยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ เราทำงาน ไม่ได้ทำงานคนเดียวต้องมีความสามัคคี มีความร่วมมือกัน และ 5.จรรณยาบรรณต่อสังคม ครูต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมเช่นเดียวกับคนอื่นๆ ถ้าครูมีความประพฤติปฏิบัติตรงตามจรรณยาบรรณเหล่านี้แล้ว เชื่อว่าจะเป็นพื้นฐานของครูที่ดี
แล้วเราจะสร้างอย่างไรให้ครูเป็นแบบนี้ ในส่วนของคุรุสภาผมมีบทบาทที่ผ่านมาสองสามบทบาท ทั้งตัวเองเป็นครูด้วย เป็นอาจารย์ที่สอนครูด้วย และมาเป็นผู้บริหารที่อยู่องค์กรวิชาชีพครู ผมคิดว่าการที่ทำให้คนเป็นคนดีได้ต้องร่วมมือกัน เริ่มตั้งแต่ตัวครูเอง ไม่มีใครไปเปลี่ยนแปลงใครได้ ถ้าเกิดว่าบุคคลคนนั้นไม่คิดอยากจะเปลี่ยนแปลงตัวเองก่อน เพราะฉะนั้นต้องเริ่มจากจุดนั้น
ในขณะเดียวกันองค์กรที่เกี่ยวข้องต้องช่วยกัน ในส่วนของคุรุสภาเองผมคิดว่าจะทำหน้าที่ ถ้าครูที่ดีอยู่แล้ว เราจะทำหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุน ยกย่อง ผดุงเกียรติครูดีเหล่านั้นให้ดียิ่งขึ้นไป ครูที่อาจจะยังไม่ดีหรือไม่ชัดเจน เราก็กำกับดูแลไม่ให้ทำไม่ดี อันนี้ก็ต้องมีบ้างในมาตรการที่จะกำกับดูแล คุรุสภาเองและองค์กรวิชาชีพจะมีเรื่องใบอนุญาต เพื่อที่จะกำกับไม่ให้ทำไม่ดี

การไม่ทำสิ่งที่ไม่ดีเป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นคนดี ความเชื่อเหล่านี้โดยสรุป คุรุสภาเองตั้งใจมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ ที่จะทำให้วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูงอย่างแท้จริง และเป็นวิชาชีพที่ประกอบไปด้วยที่คนดี ครูดี ที่จะนำไปสู่การสร้างสังคมดีทั้งในวันนี้และวันข้างหน้า โดยใช้กระบวนการที่เป็นตามบทบาทหน้าที่ที่จะทำให้เกิดครูดีเหล่านั้น
สถานที่แห่งนี้เป็นสัญลักษณ์หนึ่งของสิ่งที่ดีๆ ที่เกิดขึ้นกับครูด้วยกัน เมื่อปี 2500 ครูทั่วประเทศได้สละเงินเดือนคนละหนึ่งวันได้เงินประมาณหนึ่งล้านบาท สร้างหอประชุมแห่งนี้ โดยที่ไม่ได้ใช้งบประมาณแผ่นดินเลย เป็นเงินที่ครูเสียสละมาช่วยกัน อยู่มาตั้งแต่ พ.ศ.2500 จนถึงปัจจุบัน ผมว่านี่คือจิตวิญญาณส่วนหนึ่ง จริงอยู่การสละเงิน มันอาจจะดูเล็กน้อยไม่มีความหมายอะไร แต่ผมว่าเป็นการแสดงถึงการให้ คนเราถ้ารู้จักให้ ผมว่าเป็นส่วนเริ่มของการที่ทำให้คนเป็นคนดี
ประเด็นว่าคุรุสภามีส่วนในการดำเนินงานของมูลนิธิเครือข่ายอย่างไร ผมอยากจะกราบเรียกทุกท่านว่า คุรุสภาเองเห็นว่ามูลนิธิครูดีกับเครือข่ายครูดีเป็นส่วนหนึ่งของคุรุสภาครับ ผมคิดว่าเป็นส่วนที่แสดงถึงจิตวิญญาณของครูที่เป็นรูปธรรมชัดเจน ที่ผมพูดอย่างนี้เพราะเราเห็นภาพกิจกรรมโดยไม่ต้องไปอธิบาย เพราะฉะนั้นเมื่อคุรุสภาเห็นว่าเครือข่ายมูลนิธิเป็นส่วนหนึ่งของคุรุสภา ผมคิดว่าเครือข่ายก็ต้องร่วมมือกันทุกวิถีทาง ที่จะทำอย่างไรให้เจตนารมณ์ของมูลนิธิ เครือข่ายสามารถดำเนินการไปได้โดยบรรลุผล วิธีการคงมีหลากหลายวิธี ซึ่งขึ้นอยู่กับบทบาทหน้าที่ สถานการณ์ แต่สิ่งที่ผมคิดว่าคุรุสภาได้รับมอบหมายตามหน้าที่กฎหมายกำหนด คือ เพื่อมาเป็นตัวแทนผู้ประกอบวิชาชีพ ซึ่งหมายถึงเป็นตัวแทนของมูลนิธิด้วย เครือข่ายด้วย ในการที่จะดำเนินงานที่เกี่ยวกับครู อันนี้คือบทบาทหนึ่ง นอกจากบทบาทที่เป็นตัวแทนในการส่งเสริม สนับสนุน ยกย่องเป็นเกียรติ
กับอีกส่วนหนึ่งที่ผมจะเรียนคือ คุรุสภาโดยบทบาทตามกฎหมายกำหนด คือ เป็นหน่วยที่จะดูแลเรื่องมาตรฐานวิชาชีพคุรุสภา ดูจากมาตรฐานวิชาชีพ สาระสำคัญของวิชาชีพพวกท่านทราบ แต่ทิศทางที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ จริงๆ เกิดขึ้นแล้วและต่อเนื่องไปคือการยกระดับวิชาชีพ ให้ครูนอกจากเป็นวิชาชีพที่ได้ยอมรับในสังคมไทยอย่างแท้จริง ผมเชื่อว่าไม่มีอะไรมาแทนครูได้100% เพราะว่าครูยังมีจิตวิญญาณ ผมยังเชื่อว่าครูยังเป็นส่วนสำคัญของสังคม

เพราะฉะนั้นการยกระดับครูให้เป็นที่ยอมรับในสังคมยังไม่พอ ที่ผ่านมาคุรุสภาได้กำหนดมาตรฐานที่เป็นกรอบสมรรถนะวิทยฐานะครูในระดับอาเซียน ตอนนี้ประเทศในอาเซียนมีมาตรฐานวิชาชีพร่วมกัน ที่ครูในอาเซียนเราสามารถแลกเปลี่ยนกัน อยู่ร่วมกันหรือทำงานเชื่อมโยงกันได้ หรือโอนย้ายถ่ายเทกันได้ ซึ่งคิดว่าในอนาคตคงขยายไปสู่ระดับโลก อย่างที่ท่านปะธานมูลนิธิได้พูดว่าโลกเปลี่ยนไปแล้ว 10 ปี ที่อาจจะเปลี่ยนช้า แต่ตอนนี้เปลี่ยนเร็วมาก เพราะฉะนั้นผมครูไทยเราต้องไป คงไม่ได้ดีแค่ระดับสังคมหรือประเทศ แต่ดีในระดับอาเซียนและดีในระดับโลกได้ ผมเชื่อมั่นอย่างนั้นครับ เครือข่ายมูลนิธิจะเป็นกลไกหนึ่งที่จะทำให้ครูของไทยอยู่ในระดับโลกได้

Scroll to Top