มูลนิธิครูดีของแผ่นดิน

โครงการ BE INTERNET AWESOME

ทำไมต้องเรียนรู้ Be internet awesome (by google)

เป็นที่ทราบกันดีว่าในยุคเทคโนโลยีปัจจุบัน เราต่างเริ่มตระหนักถึงปัญหาของเด็กไทยกับพิษภัยจากอินเตอร์เน็ตมากขึ้นซึ่งเปรียบเสมือนดาบสองคมที่มีทั้งคุณอนันต์และโทษมหันต์ในเวลาเดียวกันการใช้อินเตอร์เน็ตนั้นก่อประโยชน์มหาศาลแต่ก็แอบแฝงไปด้วยอันตรายต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเข้าถึงข้อมูลที่ไม่เหมาะสมของเด็กค่านิยมผิดๆในเรื่องเพศ การล่อลวงในวงสนทนานอกจากนี้ยังมีเว็บไซต์ที่เต็มไปด้วย เรื่องลามก และเรื่องความรุนแรงต่างๆ มากมายสื่อสีดำและสีเทามีมากมายในเกมส์โทรศัพท์มือถือที่อยู่ใกล้บุตรหลานเราเสียยิ่งกว่าพ่อแม่ซึ่งยากต่อการควบคุมตรวจสอบได้อาชญากรรมทางอินเตอร์เน็ตเหล่านี้เป็นภัยที่อันตรายมากพอที่จะกำหนดเส้นทางอนาคตของเด็กได้เลยทีเดียว

ดังนั้น ก่อนที่เด็กไทย โดยเฉพาะบุตรหลานของเราจะตกเป็นเหยื่อของภัยอินเตอร์เน็ตไปมากกกว่านี้ พ่อแม่ หรือครูอาจารย์ที่อยู่ใกล้ชิด จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำความเข้าใจภัยอันตรายต่างๆ อันเนื่องมาจากการ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในโลกดิจิตอล เพื่อที่จะรู้เท่าทัน และปรับตัวเองให้รู้จักตั้งรับกับภัยเงียบที่คอยคุกคามอย่างชาญฉลาด ให้พ่อแม่ ครูอาจารย์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญในฐานะผู้ปกป้อง คุ้มครอง ให้เด็กและเยาวชนไม่หลงเดินทางผิด คอยประคับประคองให้เดินออกจากปัญหา และพาไปยังหนทางในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องดีงามได้

Be Internet Awesome จะช่วยสอนให้เด็กๆ ได้รู้จักกับพื้นฐานสำคัญของการเป็นพลเมืองยุคดิจิทัลและความปลอดภัย เพื่อช่วยให้เด็กๆ เป็นนักสำรวจที่ปลอดภัยและมั่นใจในโลกออนไลน์ เป็นทั้งเครื่องมือและ แหล่งข้อมูล ให้ท่องอินเตอร์เน็ตอย่างที่เรียกว่า “เล่นอย่างปลอดภัย เรียนอย่างปลอดภัย และใช้อย่างปลอดภัย”

พื้นฐานสำคัญ หลักจรรยาบรรณสูงสุดของยอดนักท่องอินเตอร์เน็ต


1. Be Internet Smart คิดก่อนแชร์ ข่าวต่างๆ (ทั้งดีและไม่ดี) แพร่กระจายในโลกอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว และหากไม่คิดให้รอบคอบ เด็กๆ อาจตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก ซึ่งอาจมีผลกระทบในระยะยาว ดูวิธีแชร์ข้อมูลกับคนที่รู้จักและไม่รู้จักได้เลย

สื่อสารอย่างมีความรับผิดชอบ

  • ส่งเสริมการคิดก่อนแชร์โดยใช้หลักคิดง่ายๆว่าการสื่อสารออนไลน์ก็เหมือนกับการสื่อสารแบบตัวต่อตัว ถ้าไม่ใช่เรื่องที่น่าพูด ก็แปลว่าไม่ใช่เรื่องที่น่าโพสต์
  • สร้างคู่มือเกี่ยวกับประเภทการสื่อสารที่เหมาะสม (และไม่เหมาะสม)
  • เก็บรายละเอียดเกี่ยวกับครอบครัวและเพื่อนๆ ไว้เป็นความลับ

2. Be Internet Alert ไม่ตกหลุมพรางกลลวง คุณต้องช่วยให้เด็ก ๆ เข้าใจว่าผู้คนและสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโลกออนไลน์อาจไม่ได้เป็นอย่างที่เห็น ความสามารถในการแยกแยะระหว่างข้อมูลจริงและเท็จเป็นบทเรียนที่สำคัญอย่างยิ่งต่อความปลอดภัยในโลกออนไลน์

3. Be Internet Strong เก็บข้อมูลไว้เป็นความลับ ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยส่วนบุคคลในโลกออนไลน์และออฟไลน์นั้นก็สำคัญไม่แพ้กัน การปกป้องข้อมูลที่สำคัญช่วยให้เด็กๆ หลีกเลี่ยงความเสียหายต่ออุปกรณ์ ชื่อเสียง และความสัมพันธ์ได้

4. Be Internet Kind เป็นคนดีเท่จะตาย อินเทอร์เน็ตเป็นกระบอกเสียงอันทรงพลังในการเผยแพร่เรื่องที่ดีและไม่ดี ช่วยให้เด็กๆ เลือกทางที่ถูกต้องโดยใช้แนวคิด “จงปฏิบัติต่อผู้อื่นเหมือนที่อยากให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อตัวเรา” กับการทำสิ่งต่างๆ ในโลกออนไลน์ ซึ่งจะช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีสำหรับผู้อื่นและกำจัดพฤติกรรมการกลั่นแกล้งให้หมดไป

5. Be Internet Brave สงสัยเมื่อไร ก็ถามได้เลย บทเรียนหนึ่งที่ควรจะต้องสอนเด็กๆ ไม่ว่าจะพบสิ่งใดในโลกออนไลน์ก็คือ เมื่อใดก็ตามที่มีคำถาม พวกเขาควรพูดคุยกับผู้ใหญ่ที่ไว้วางใจได้อย่างสบายใจ ซึ่งผู้ใหญ่สนับสนุนพฤติกรรมนี้ได้ด้วยการส่งเสริม การพูดคุยแบบเปิดเผยทั้งที่บ้านและในชั้นเรียน


รายการพุธเช้า ข่าวสพฐ. ตอน BeInternetAwesome วันที่ 18 มี.ค. 63


ภาพกิจกรรมโครงการศึกษานิเทศก์ดีของแผ่นดิน


เอกสารโครงการ Be Internet Awesome

Scroll to Top